รัฐมนตรีสหรัฐฯเยือนยูเครน หลังจากประกาศหนุนปฏิบัติการโต้กลับ!
เมื่อวานนี้ (7 ก.ย.) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนพื้นที่ต่างๆ ในแคว้นเคียฟ ซึ่งเป็นกำหนดการของวันสุดท้ายในการเยือนยูเครนครั้งนี้ หนึ่งในสถานที่ที่บลิงเคนเดินทางไปเยือนคือฐานที่มั่นของหน่วยทหารตระเวนชายแดน สาเหตุที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปยังฐานของหน่วยทหารตระเวนชายแดนบริเวณชานเมืองของกรุงเคียฟ ก็เพื่อเยี่ยมชมว่าหน่วยงานของยูเครนนำความช่วยเหลือต่างๆ ที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครนไปใช้อย่างไรบ้าง
ยูเครนเริ่มปฏิบัติการรุกกลับ ภาคใต้-ตะวันออก ยังสู้รบดุเดือด!
“แอนโทนี บลิงเคน” เยือนเอเชียกลาง หารือเศรษฐกิจ-กระชับความสัมพันธ์
โดยยุทโธปกรณ์ที่หน่วยทหารตระเวนชายแดนยูเครนใช้ในการป้องกันดินแดนและนำมาแสดงให้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชม ได้แก่ โดรนลาดตระเวนและ “เอ็มแรป” (MRAP) รถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตีจำนวน 4 คัน รวมไปถึงอุปกรณ์ลาดตระเวนและป้องกันอื่นๆ อีกทั้งยังนำซากโดรนและขีปนาวุธรัสเซียที่กองทัพยูเครนสกัดการโจมตีไว้ได้มาแสดงเช่นกัน
นี่คือส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครนในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ คือชาติพันธมิตรรายใหญ่ที่สุดที่มอบแพ็คเกจช่วยเหลือด้านต่างๆ ให้แก่ยูเครนนับตั้งแต่รัสเซียทำสงครามบุกโจมตียูเครน ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ การสนับสนุนการฝึกหทาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม หรืองบประมาณสนับสนุนด้านอื่นๆ เพื่อประกันความมั่นคงให้แก่ยูเครน จนถึงตอนนี้ สหรัฐฯ ให้ความสนับสนุนยูเครนยูเครนไปแล้วเป็นมูลค่า 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนแพ็กเกจความช่วยเหลือใหม่ที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมามีมูลค่าอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในจำนวนนั้น 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมูลค่าของความช่วยเหลือด้านอาวุธ อย่างไรก็ตาม อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่งที่สหรัฐฯ จะส่งมอบให้แก่ยูเครนได้นำไปสู่การโต้เถียงแล้ว นั่นก็คือ “กระสุนเจาะเกราะยูเรเนียม” และชาติที่ออกมาวิจารณ์การส่งกระสุนยูเรเนียมเจาะเกราะของสหรัฐฯ ก็คือรัสเซีย
เมื่อวานนี้ หลังรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ยูเครน ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซียได้ออกมาตอบโต้การตัดสินใจส่งกระสุนยูเรเนียมเจาะเกราะของสหรัฐฯ โฆษกรัฐบาลรัสเซียระบุว่า การส่งกระสุนชนิดนี้ให้แก่ยูเครนเป็นเรื่องที่แย่และจะนำไปสู่ผลกระทบที่น่าเศร้าตามมา เพราะกัมมันตรังสีจากกระสุนยูเรเนียมเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และก่อให้เกิดโรค สหรัฐฯ จะต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการมอบกระสุนยูเรเนียมเจาะเกราะให้ยูเครน
ในวันเดียวกัน ซาบรินา ซิงห์ รองโฆษกประจำกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาตอบโต้คำกล่าวจากทางการรัสเซียแล้ว โดยออกมาแย้งประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพว่า รายงานขององค์การอนามัยโลกและทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ไม่พบหลักฐานว่า ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่ใช้ผลิตกระสุนเจาะเกราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมระบุว่า จุดประสงค์ของกระสุนยูเรเนียมคือ ใช้เพื่อเจาะเกราะรถถังโดยตรงและเป็นกระสุนที่กองทัพทั่วโลกใช้ทั่วไปคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
ทั้งนี้ นี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ จะส่งกระสุนยูเรเนียมให้แก่ยูเครน โดยคาดว่าจะเป็นกระสุนสำหรับ “อับรามส์” รถถังประจัญบานที่สหรัฐฯ มีกำหนดส่งมอบให้แก่ยูเครนในปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ไม่ใช่ชาติพันธมิตรชาติแรกที่ตัดสินใจส่งกระสุนยูเรเนียมเจาะเกราะให้กองทัพยูเครนไปใช้ที่แนวรบ เพราะเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรก็เคยมอบกระสุนยูเรเนียมพร้อมกับรถถังรุ่นชาเลนเจอร์ 2 ไปแล้ว
กระสุนยูเรเนียมเจาะเกราะคืออะไร อะไรคือสาเหตุที่กระสุนชนิดนี้ตกเป็นที่ถกเถียงของหลายฝ่าย
กระสุนยูเรเนียมทำจากแร่ยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการทำให้กัมมันตรังสีเสื่อมสมรรถภาพลงแล้ว หรือที่เรียกว่า “ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ” (Depleted uranium) กระสุนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการเจาะเกราะ และทะลุทะลวงเป้าหมายได้มากกว่ากระสุนที่ทำจากโลหะชนิดอื่นๆ เนื่องจากยูเรเนียมเป็นโลหะที่ความหนาแน่นมากกว่าเหล็กหรือตะกั่วที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตกระสุนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การนำกระสุนยูเรเนียมมาใช้เป็นประเด็นถกเถียงอย่างร้อนแรงว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากแม้ว่ามันจะทำให้ถูกด้อยสมรรถนะจนมีสารกัมมันตรังสีอ่อนกว่ายูเรเนียมเสริมสมรรถภาพที่ใช้ในอาวุธนิวเคลียร์ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้หมดลงเสียทีเดียว
รายงานของทบวงพลังงานปรมาณูระบุว่า ยูเรเนียมเสื่อมสมรรถภาพยังคงมี “มีพิษทางกัมมันตรังสี แต่มีกัมมันตรังสีค่อนข้างน้อยกว่ายูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติ” และต้องระมัดระวังในการใช้เพราะเป็นอันตรายเมื่อสัมผัสและเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
อย่างไรก็ดี สงครามในอดีตที่มีการใช้กระสุนยูเรเนียมเริ่มปรากฏผลกระทบออกมาแล้ว กระสุนยูเรเนียมเป็นอาวุธที่ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1970 และสงครามหนึ่งที่มีการนำกระสุนยูเรเนียมมาใช้อย่างกว้างขวางคือ สงครามอ่าว (Gulf War) ในปี 1991 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาติสมาชิกนาโตกับอิรัก หลังอิรักตัดสินใจรุกรานคูเวต
งานวิจัยล่าสุดของหน่วยงานทหารผ่านศึกสหรัฐฯ เปิดเผยว่า หลังสิ้นสุดสงครามอ่าว กระสุนยูเรเนียมที่เคยถูกนำมาใช้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสนามรบที่ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และทางตอนใต้ของอิรัก นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่ามีทหารผ่านศึกและประชาชนบางส่วนที่เคยสัมผัสกับยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ กำลังประสบปัญหาทางสุขภาพ เช่น ไตพัง หรือเกิดโรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
ส่วนในสงครามยูเครน รายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNEP เมื่อปี 2022 ระบุถึงความกังวลที่ยูเรเนียมเสื่อมสมรรถภาพที่ใช้ในยูเครนอาจส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิว ไตล้มเหลว และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
ขณะที่สหรัฐฯ ประกาศมอบความช่วยเหลือครั้งใหญ่ให้แก่ยูเครน ในวันเดียวกันก็ปรากฏการโจมตีทางอากาศด้วยโดรนบนแผ่นดินรัสเซียอีกระลอกครั้งนี้การโจมตีเกิดขึ้นที่แคว้นรอสตอฟ-ออน-ดอน ทางตอนใต้ของรัสเซีย นี่เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีดินแดนรัสเซียด้วยโดรนปริศนาที่เกิดถี่ขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
เมื่อวานนี้ช่วงเช้ามืดตามเวลาท้องถิ่นรัสเซีย มีรายงานว่าแคว้นรอสตอฟ-ออน-ดอน ทางตอนใต้ของรัสเซียถูกโจมตีด้วยโดรนวาซิลี โกลูเบฟ ผู้ว่าการแคว้นรอสตอฟออนดอนระบุว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศสามารถยิงสกัดโดรนไว้ได้
อย่างไรก็ตาม แรงระเบิดและเศษซากโดรนที่ถูกยิงสกัดได้สร้างความเสียหายให้แก่อาคารและรถยนต์ที่จอดอยู่รอบๆ และส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 รายโดรนที่ร่อนเข้ามาโจมตีแคว้นรอสตอฟออนดอนระลอกนี้มีจำนวน 2 ลำ ลำหนึ่งถูกสกัดตกบริเวณนอกเมืองทางตะวันตกของแคว้น
แต่ที่น่าสนใจคือ อีกลำหนึ่งถูกสกัดตกใจกลางเมือง ซึ่งบริเวณที่โดรนตกนั้นอยู่ห่างออกไปจากกองบัญชาการทหารทางใต้ของกองทัพรัสเซียไม่เกิน 3 กิโลเมตรและที่นี่เป็นศูนย์บัญชาการกองกำลังรัสเซียในการทำสงครามบุกยูเครนท่ามกลางการโจมตีด้วยโดรนบนแผ่นดินรัสเซียที่ถี่ขึ้น ประชาชนชาวเมืองรอสตอฟออนดอนรายหนึ่งระบุว่าที่เกิดเหตุเช่นนี้ เป็นเพราะรัสเซียทำสงครามในยูเครน
นอกจากที่แคว้นรอสตอฟ-ออน-ดอนแล้ว ยังเกิดการโจมตีด้วยโดรนบริเวณแคว้นมอสโกและเมืองเบรียนสก์เช่นกัน ส่วนในวันนี้ที่ยูเครน มีรายงานว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีหลายพื้นที่ เช่น ซูมี ทางตอนเหนือ คริวิ ริฮ์ทางตอนกลาง และซาโปริซเซียทางตอนใต้
ด่วน! วิสามัญ “หน่อง” มือยิงสารวัตรทางหลวง หลังคนร้ายต่อสู้หวังหลบหนี
เลื่อนจ่าย “เงินอุดหนุนบุตร” ประจำเดือนกันยายน 2566
ไขข้อสงสัย วอลเลย์บอลหญิงไทย ทำไมต้องใส่สายรัดแขน