ก.ล.ต. เปิดพัฒนาการและการกำกับดูแล utility token
รายงานข่าวจาก ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” มีพัฒนาการและการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากคริปโตเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิในการใช้งานบนบล็อกเชน หรือโครงการต่าง ๆ แล้ว ปัจจุบันภาคเอกชนยังสนใจนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการออกโทเคนดิจิทัลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การแปลงคูปอง voucher คะแนนสะสม บัตรเข้างานต่าง ๆให้อยู่ในรูปโทเคนดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนใบรับรองหรือการแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น คาร์บอนเครดิต ใบรับรองพลังงานทดแทน เป็นต้น
ขณะที่พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ได้แบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คริปโตเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะและการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน โดยโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ หรือ utility token เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ utility token ยังแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “utility token พร้อมใช้” และ “utility token ไม่พร้อมใช้”
utility tokenพร้อมใช้เป็นเหรียญที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้บริการตามที่กำหนดได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายเหรียญครั้งแรกซึ่งก.ล.ต.ไม่ได้กำกับดูแลการออกเสนอขายเหรียญประเภทนี้แต่จะกำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับutility tokenพร้อมใช้ตามที่กำหนดเช่นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
utility token ไม่พร้อมใช้ เป็นเหรียญที่ผู้ถือยังไม่สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์สินค้าหรือบริการนั้นได้ทันทีในวันเสนอขาย แต่ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต ซึ่ง ก.ล.ต. กำกับดูแลการออกเสนอขาย utility token ไม่พร้อมใช้ โดยผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (Issuer) จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. มีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยัง กำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับ utility token พร้อมใช้
ต่อมาเมื่อมีผู้ให้ความสนใจซื้อขาย utility token มากขึ้น และมีความประสงค์จะนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยน (list) ในศูนย์ซื้อขายฯ ก.ล.ต. จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำกับดูแล utility token โดยเฉพาะ utility token พร้อมใช้ ที่ list ในศูนย์ซื้อขายฯ โดยกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาตก่อนการเสนอขายเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และต้องเสนอขายผ่าน ICO Portal เพื่อให้ผู้ซื้อขายมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องเพียงพอในการตัดสินใจ
ทั้งนี้หลังจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวก.ล.ต.ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาพิจารณาและเห็นว่าutility tokenดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็นutility tokenที่มีลักษณะของการอุปโภคบริโภคเช่นการแปลงคูปองบัตรใบรับรองต่างๆเป็นโทเคนดิจิทัลและutility tokenที่ให้สิทธิในการใช้งานDistributed Ledger Technology (DLT)โครงการDecentralized Finance (DeFi)และCentralized Finance (CeFi)หรือเป็นเหรียญประจำศูนย์ซื้อขายฯซึ่งutility tokenพร้อมใช้แต่ละประเภทจะมีลักษณะวัตถุประสงค์การใช้งานและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปและการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องก็ควรสอดคล้องกับutility tokenพร้อมใช้แต่ละประเภทเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจตามปกติ(business as usual)และไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนระยะเวลาและต้นทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควรและในขณะเดียวกันผู้ลงทุน/ผู้ซื้อขายได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอเหมาะสมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ดังนั้นก.ล.ต.จึงอยู่ระหว่างทบทวนกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแล“utility tokenพร้อมใช้”ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงและการใช้งานutility tokenพร้อมใช้แต่ละประเภทโดยมีกลไกคุ้มครองผู้ซื้อขายที่เพียงพอเหมาะสมในขณะที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการพัฒนานวัตกรรมและการส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง